WORK 4

 มนตรี แก้วเชิด และอโนทัย ประสาน. (2563). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต่อการส่งเสริมความร่วมมือของครูสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2564, หน้า 202-210

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสeนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 2. เพื่อศึกษาการส่งเสริมความร่วมมือของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 และ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต่อการส่งเสริมความร่วมมือของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12จำนวน 357 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน จากผลการวิจัยพบว่าบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับดังต่อไปนี้ ด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ด้านการมีภาวะความเป็นผู้นำ และด้านการพัฒนาศักยภาพบุคคลและเทคโนโลยี การส่งเสริมความร่วมมือของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับดังต่อไปนี้ การสร้างความถูกต้องชอบธรรม การสร้างความไว้ใจ การสร้างภาวะผู้นำการวางแผน การสร้างข้อตกลงเบื้องต้น และการบริหารจัดการความขัดแย้ง บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต่อการส่งเสริมความร่วมมือของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05



แพรดาว สนองผัน  และ ดร. เสาวนี สิริสุขศิลป์. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่  21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 37 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2557, หน้า 42-50

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะของผู้บริหารและเสนอแนวการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descrip-tive  Research) ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 17 คน ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบ Mini EDFR(Mini Ethnographic Delphi Futures Research) โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนากรอบแนวคิดเบื้องต้นในการวิจัย ส่วนระยะที่ 2 รอบแรกเป็นการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง(Semi Structure Interview) และรอบสองเป็นการสอบถามความเห็นด้วยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า(rating scale) 5 ระดับ จากผลการวิจัย พบว่า ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 11 ทักษะ คือ ทักษะด้านเทคนิค ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านความคิดรวบยอด ทักษะด้านการศึกษาและการสอน ทักษะด้านความรู้ความคิด ทักษะด้านการบริหาร ทักษะด้านการวางแผน ทักษะด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะด้านการประเมิน ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการบริหารจัดการ และทักษะด้านการสร้างทีมงาน โดยทักษะที่มีแนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุดและมีความเห็นสอดคล้องกันอันดับแรก คือ ทักษะด้านการสร้างทีมงาน และมีแนวทางการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้ 1) ทักษะด้านเทคนิค คือ ผู้บริหารจะต้องศึกษาหาความรู้ เรียนรู้เทคนิควิธีการปฏิบัติงานใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา 2) ทักษะด้านมนุษย์ คือ  ผู้บริหารควรยึดหลักพรหมวิหาร 4 มีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสเข้ากับคนได้ง่าย 3) ทักษะด้านความคิดรวบยอด คือ ผู้บริหารควรศึกษาข้อมูลรอบด้านและนําไปกําาหนดนโยบาย กลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ 4) ทักษะด้านการศึกษาและการสอน คือ ผู้บริหารจะต้องพัฒนาตนเองและเป็นผู้นําด้านวิชาการ 5) ทักษะด้านความรู้ความคิด คือ ผู้บริหารควรศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ หลักและทฤษฎีต่างๆมาช่วยในการวิเคราะห์และตัดสินใจ 6) ทักษะด้านการบริหาร คือ ผู้บริหารควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการบริหารและนําามาประยุกต์ใช้ปรับปรุงการทําางาน 7) ทักษะด้านการวางแผน คือ ผู้บริหารควรมีเทคนิคในการวางแผน 8) ทักษะด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ผู้บริหารควรรู้เทคนิคการสื่อสาร การพูดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 9) ทักษะด้านการประเมิน คือ  ผู้บริหารควรพัฒนา ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินในรูปแบบต่าง ๆ 10) ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการบริหารจัดการ คือ ผู้บริหารจะต้องเปิดใจกว้าง ก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และ 11)  ทักษะด้านการสร้างทีมงาน คือ ผู้บริหารควรสร้างความตระหนักในการทํางานเป็นทีม



สุวัฒน์ กู้เกียรติกาญจน์ และวิชิต แสงสว่าง. (2564). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2564, หน้า 68-80

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา จํานวน 181 คน ได้มาจากการกําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสําเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป สถิติที่ใช้เป็นค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่า t - test และ f-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า เรียงลําดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ําสุด คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะการสื่อสาร ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิตอล ทักษะทํางานเป็นทีม และทักษะการแก้ปัญหา 2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทํางานที่แตกต่างกัน ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา ไม่แตกต่างกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Describing and measuring leadership within school teams by applying a social network perspective