การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร

 

ชื่อวิทยานิพนธ์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร
School-Based Management of Private Vocational Schools, Bangkok Metropolis
ชื่อนิสิตเยาวรัตน์ บุญปลอด
Yaowarat Boonplod
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาผศ. วินิจ เกตุขำ, Ph.D.
Asst.Prof. Vinich Getkham, Ph.D.
ชื่อสถาบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย
Kasetsart University. Bangkok (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชาวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ศึกษาศาสตร์ (การบริหารการศึกษา)
Master. Education (Educational Administration)
ปีที่จบการศึกษา2546
บทคัดย่อ(ไทย)วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและ 2) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรคือ ครูใหญ่หรืออาจารย์ใหญ่และครูในโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 357 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ส่งแบบสอบถามไปและได้กลับคืนมา 292 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 82.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร สถาพที่ดำเนินการมากที่สุดในแต่ละด้านทั้ง 3 ด้านมีดังนี้ 1) ด้านหลักการกระจายอำนาจ มีการบริหารงานในรูปคณะกรรมการโรงเรียน 2) ด้านหลักการบริหารตนเองมีปรัชญาแผนพัฒนาคุณภาพและตัวชี้วัดความสำเร็จ 3) ด้านหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมเชิญชุมชนและผู้ปกครองมาร่วมเป็นคณะกรรมการโรงเรียน 4) ด้านหลักการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง 5) ด้านหลักการพัฒนาทั้งระบบพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการหลากหลาย ยืดหยุ่นเหมาะกับผู้เรียน 6) ด้านหลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ มีระบบการประกันคุณภาพภายในที่พร้อมรับการประเมินภายนอกสำหรับปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานพบว่า โดยรวมมีปัญหาในระดับปานกลางทุกด้านปัญหาสูงสุดในแต่ละด้านคือ การกำหนดมาตรฐานการบริหารงานธุรการ การเงินและการบัญชีอิสระและอำนาจในการบริหารงานบุคลากร การให้ครู อาจารย์และชุมชนมีส่วนร่วมกำหนดแผนงานด้านบุคลากร การบริหารโรงเรียนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ และการจัดระบบประกันคุณภาพภายใน
บทคัดย่อ(English)The purposes of this research were: 1) to study the state of school-basedmanagement and 2) to study the problems of private vocational schools, Bangkok Metropolis. The population were 357 principals and teachers of private vocational schools, Bangkok Metropolis. The instrument used was a specifically constructed questionnaires. Usable returns of 292 or 82.00 percent were analyzed in terms of percentage and standard deviation. The results of the research indicated that the highest scores of six aspects ofschool-based management of private vocational schools were as follow: 1) decentralizationformulated the school committees; 2) self- management contained school philosophy, qualityplans, and achievement indicators; 3) participative management needed the community to joythe school committees; 4) facilitative leadership had to encourage school personneldevelopment; 5) whole school approach focused on child-centered oriented instruction; 6)accountability concentrated on internal quality assurance for external quality assessment.As for the problem, it was evident that they mostly rate at the moderate level in all sixaspects were set up the general administration, budgeting, and accounting, empowerment inpersonnel management; participation of teachers and community in personnel planning,school management in line with school objectives, development of information system andformulation of educational quality assurance.
ภาษาที่ใช้เขียนวิทยานิพนธ์
จำนวนหน้าของวิทยานิพนธ์166 P.
ISBN974-273-981-1

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Describing and measuring leadership within school teams by applying a social network perspective

WORK 4