สภาพและปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม

นครินทร์ เหลือบุญชู รศ.อนันต์ ปานศุภวัชร และ ศิริดา บุรชาติ. (2554). สภาพและปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2554, หน้า 70-76


บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  ของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพและปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม  ประชากรในการวิจัยครั้งนี้  ประกอบด้วยผู้บริหาร  25  คน  ครู  163  คน  และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 78 คน รวมประชากร 266 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จํานวน 164 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยผู้บริหาร 25 คน ครู 83 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า  มีค่าความเชื่อมั่นสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  เท่ากับ  0.93  และค่าความเชื่อมั่นปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  เท่ากับ  0.92  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ การทดสอบค่าเอฟ  ชนิดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  ผลการวิจัยพบว่า  1)  ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนมใช้การบริหารฐานโรงเรียนอยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหารโรงเรียน มีปัญหาการบริหารฐานโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง 3) ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม  โดยรวมแตกต่างกัน  อย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ  4)  ผู้บริหาร  ครูผู้สอน  และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม  โดยรวมแตกต่างกัน  อย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ  5)  ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ควรใช้หลัก  4  ด้าน  คือ  ด้านหลักการมีส่วนร่วม  ด้านหลักการคืนอํานาจจัดการศึกษาให้ประชาชน  ด้านหลักการบริหารตนเอง และด้านหลักการตรวจสอบ และถ่วงดุล ในการบริหารฐานโรงเรียน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Describing and measuring leadership within school teams by applying a social network perspective

WORK 4